ระบบเสียงกลางแจ้ง
ระบบเสียงกลางแจ้ง
ระบบเสียงมีอะไรบ้าง
1. ต้องมีความเข้าใจ เป้าหมายว่าต้องการระบบแบบไหน งานสนามเครื่อง PA ( out door) หรืองานในร่ม ( In door) และลักษณะงานว่าเป้นงานที่ต้องการบุคลิค คุณภาพเสียงแบบไหน หนักแน่น แรง โฉ่งฉ่าง เร้าใจ ( งานเทคกลางดิน ดิ้นกลางแปลง) หรืองานนุ่มนวล หวาน คมชัด สดใส ( งานโชว์เสียงร้อง +ดนตรี งานประกวดร้องเพลง งานผู้ดี ผู้ใหญ่) เพื่อเลือกมิกเซอร์ ตู้ลำโพงและอุปกรณอื่นๆได้ถูกต้อง
2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการในการใช้งาน ปรับ ตั้งค่าอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง เช่นการใช้การปรับมิกเซอร์ -EQ - Cross -FX -Compressor
3. ต้องมีความรู้ในเรื่องการปรับระบบหน้า PA ให้ระบบ +เสียง สมดุลย์ ลงตัวกันทั้ง Mixer - EQ - Cross -FX - poweramp - compressor (ถ้ามี) - ตู้ลำโพง และการทำ Soundcheck หน้างานของแต่ละงาน
4 ต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ทุกชิ้นให้ถูกต้องการลักษณะงาน เพราะอุปกรณ์บางชิ้นจะออกแบบมาให้มีคุณสมบัติ โทนเสียง บุคลิคเสียงเหมะกับงานไม่เหมือนกัน เช่นมิกเซอร์ sound craft บางรุ่นทำมาสำหรับงานเล็กๆ ( In door) บางรุ่นทำมาสำหรับงานสนามใหญ่ๆ ( Out door)
5 ต้องเลือกพาวเวอร์แอมป์ที่ให้โทนเสียง บุคลิคเสียงให้เหมาะที่จะใช้มาขับ ถ่ายทอดเสียงทั้ง Low Mid hight เพราะพาวเวอร์แอมป์ยี่ห้อ รุ่น ต่างๆจะเหมาะกับการใช้ขับเสียงหนึ่งเสียงใดเท่านั้น มีน้อยยี่ห้อรุ่นมากที่สามารถใช้ขับเสียงทั้ง ow mid Hight ได้ดีทั้งหมด
6. ต้องยึดหลักการ หลักวิชาการ ศาสตร์ของระบบเสียง ศาสตร์ของระบบที่ถูกต้อง อย่าเล่นมั่วแบบเครื่องเสียงชาวบ้าน เช่น พาวเวอร์แอมป์เขาออกแบบมาให้ใช้ได้ 4 โอห์ม ลำโพงต่อขนานข้างละ 2 ตู้ หรือ 2 ดอก ก็ไปเล่นกันแบบลูกทุ่ง ชาวบ้านต่อขนาน+อนุกรมข้างละ 3 ตู้ เพราะต้องการให้ตู้มากๆ ดูอลังการณ์ คิดว่าเสียงจะดังมากขึ้น..แต่จริงๆแล้วไม่ใช้ คุณภาพเสียงกลับจะแย่ลง และเบากว่า
7.ต้องเลือกใช้ดอกลำโพง ให้ถูกต้อง เหมาะสมกับพาวเวอร์แอมป์ หมายความว่าดอกลำโพงต้องมีสเป็ครับกำลังวัตต์ได้พอดี เหมาะสมกับกำลังขับของพาวเวอร์แอมป์..ถ้าใช้ดอกลำโพงข้างละ2 ดอก ต้องให้กำลังรับวัตต์รวมกันได้พอดี เหมาะสมกับกำลังขับของลำโพงต่อข้าง เช่นดอกลำโพงรับกำลังขับได้สูงสุด 1000 วัตต์ 2 ดอกรวมกันก็ได้ 2000 วัตต์ ดังนั้นพาวเวอร์แอมป์ต้องมีกำลังขับที่ 4 โอห์มได้ ใกล้เคียงกำลังวัตต์รวมของดอก เช่น 1500-1800-2000 วัตต์ ถึงจะได้คุณภาพเสียงที่ดัง แรง อิ่ม แน่น หนา มีน้ำหนัก
เมื่อพูดถึงระบบในโรงละคร ห้องประชุม ตลอดจนระบบเสียงที่ใช้ในการแสดงดนตรีหลายคนอาจจะคุ้นเคยและทราบดีว่ามันเป็นระบบที่ใช้เครื่องขยายตลอดจนอุปกรณ์ทางเสียงที่มีคุณภาพและราคาอยู่ในขั้นมืออาชีพ (ดีและแพง) แต่ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่คิดว่าจะใช้เครื่องขยายเสียงที่เปิดฟังตามบ้านกับระบบเสียงดังกล่าวนี้ได้ (ลองใช้ดูหลายราย) เครื่องขยายเสียงที่ใช้ฟังตามบ้าน ตามห้องนั้นความคงทนตลอดจนกำลังขับ (output power) ไม่เหมาะสมกับระบบเสียงใหญ่ ๆ ที่มีบริเวณกว้าง ๆ นี่เป็นเพียงความแตกต่างทางด้านอุปกรณ์เท่านั้น มันยังมีข้อแตกต่างอีกมากมายระหว่างระบบเสียงภายในบ้าน (domertic system) กับระบบเสียงสำหรับการแสดง (sound reinforcement system)
ระบบเสียงสำหรับการแสดงที่เราจะกล่าวถึงนี้แยกเป็นส่วนย่อยอีกระบบหนึ่งคือ ระบบกระจายเสียงในที่สาธารณะ (Public Address) ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับชื่อย่อของมันที่ว่า ระบบพีเอ
(P.A. system) ระบบพีเอเป็นระบบเสียงที่เน้นหนักด้านการกระจายเสียงพูด เช่น ในการอภิปารยปาฐกถา การหาเสียง เป็นต้น ส่วนระบบเสียงสำหรับการแสดจะมีจุดมุ่งหมายในการกระจายเสียงทั้งเสียงพูดและเสียงพูด เสียงร้องเพลงและเสียงดนตรีควบคู่ไปด้วย ดังนั้นระบบเสียงสำหรับการแสดงจะมีความยุ่งยากและละเอียดอ่อนมากกว่าระบบพีเอ อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้หลักการเดียวกันกับทั้งสองระบบได้ ระบบเสียงทั้งสองนี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ชมคนดูจะอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้แสดง สภาพเช่นนี้เราถือว่าผู้ชมและผู้แสดงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน เช่น ถ้าอยู่ในห้องประชุมทั้งคนดูและคนแสดงจะอยู่ในสภาพเสียงก้องเสียงสะท้องแบบเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเสียงรบกวนจากลมและอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน จะเห็นว่ามันแตกต่างจากการเปิดเครื่องรับ (receiver) ฟังรายการจากวิทยุหรือฟังเพลงจากเครื่องเล่นเทป เพราะว่าสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้มาจากที่อื่น หรือเป็นสัญญาณที่ถูกบันทึกไว้ โดยในขณะบันทึกนั้นสภาพธรรมชาติของเสียงในห้องบันทึกกับห้องที่เรานั่งฟังนั้นแตกต่างกัน
1 เป็นระบบพีเอที่ง่ายและพื้นฐานที่สุด ถึงแม้ว่าจะใช้ไมโครโฟนหลายตัวแต่ใช้เฉพาะเสียงพูดเรายังถือว่าเป็นระบบพีเอเช่นกัน ส่วนในรูปที่ 2 เป็นระบบเสียงสำหรับการแสดง จะเห็นว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไมโครโฟนซึ่งต้องเลือกใช้กับเครื่องดนตรีเฉพาะแบบ เครื่องดนตรีต่าง ๆ เหล่านี้มีทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้า สัญญาณจากเครื่องดนตรีเหล่านี้จะนำเข้าสู่วงจรมิกเซอร์ อีควอไลเซอร์และอื่นๆ แล้วนำเข้าสู่เครื่องขยายเสียงเพื่อนำออกกระจายเสียงยงคนฟัง เราจะไม่ใช้เครื่องขยายของเครื่องดนตรีชิ้นนั้น (ถ้าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้า) กระจายเสียงไปยังคนดูโดยตรงแต่มันยังคงทำหน้าที่ขยายเสียงจากเครื่องดนตรีเพื่อให้ผู้แสดงเองได้ยินเท่านั้น
2 เราจะพบว่ามีเครื่องขยายอีกชุดที่ใช้เป็นตัวขับลำโพงมอนิเตอร์ เพื่อที่จะให้ผู้แสดงเองได้ยินระดับความดังของเสียงดนตรีหรือเสียงร้องที่ตัวเองกำลังแสดงอยู่ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ หรือเปล่า ประโยชน์ของการใช้มอนิเตอร์นี้จะทำให้นักดนตรีสามารถแสดงได้อย่างมั่นใจไม่พวงว่าขณะนั้น ๆ เสียงดนตรีที่ไปยังคนดูมีคุณภาพเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าผิดพลาดก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ในสมัยแรก ๆ นั้นการแสดงดนตรีมักจะไม่มีระบบมอนิเตอร์ ทำให้เสียงเพลงที่ได้ห้วน ๆ หรือแย่งกันตะเบ็งเสียง ประโยชน์อีกข้อของการใช้ระบบมอนิเตอร์ก็คือ จะช่วยให้การบันทึกเสียงของการแสดงเป็นไปได้ง่ายเข้า โดยต่อพ่วงจากมอนิเตอร์เลย
จุดหมายหรือเป้าหมายของระบบเสียงสำหรับการแสดง (รวมระบบพีเอด้วย) นั้นถ้าจะพูดก็พูดได้ง่ายมาก แต่จะทำให้ได้นั้นจะยากเป็นหลายเท่าทวีคูณ เป้าหมายใหญ่ ๆ ก็คือการกระจายเสียงร้องเสียงดนตรีไปยังคนดูด้วยระดับความดัง ความสมจริงที่เหมาะสม ไม่ดังหรือค่อยเกินไปในทุก ๆ บริเวณและทุกเวลาที่เราต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเราต้องเผชิญกับปัญหาด้านต่างๆ มากมาย ดังจะได้กล่าวในตอนต่อไป ก่อนอื่นเรามาพิจารณาถึงส่วนประกอบสำคัญของระบบเสียงที่ว่านี้ ส่วนประกอบที่สำคัญแยกออกเป็น 3 ส่วนคือ ทางด้านผู้แสดง (performers) อุปกรณ์เครื่องเสียง (equipment)สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้น (environment and acoustics) ตอนนี้บางท่านก็คงจะเข้าใจถึงระบบเสียงที่แท้จริงแล้วว่ามันไม่ใข่มีเฉพาะอุปกรณ์เครื่องเสียงเท่านั้นที่เป็นหัวใจของระบบเสียง แต่ยังมีสิ่งที่ควบคู่มาอีก 2 อย่าง ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีเยี่ยมอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ระบบเสียงดีเท่าที่ต้องการได้ ปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะพบบ่อยที่สุดในระบบเสียง พร้อมด้วยการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
คุณภาพของเสียง
ปัญหาข้อนี้ขึ้นกับคุณภาพของอุปกณ์เครื่องเสียงที่ใช้ว่าจะให้ความขัดเจนมากน้อยเพียงใด ความเพี้ยนของอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในระดับที่พอเพียงหรือเปล่า ถ้าจะพูดกันง่าย ๆ คุณภาพของเสียงขึ้นกับความเป็น Hi-Fi ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ นอกจากนี้ผลตอบเชิงความถี่ยังเป็นตัวกำหนดความชัดเจนด้วย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเพี้ยนต่ำและผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นได้
โดยปกติแล้วผลตอบเชิงความถี่ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียบครอบคลุมช่วงความถี่ที่ประสาทหูของคนรับรู้ได้ เพราะเสียงคนไม่เหมือนเสียงดนตรี สำหรับเสียงพูดผลตอบเชิงความถี่ควรจะราบเรียบในช่วง 150 Hz ถึง 7 kHz ก็พอ ดังนั้น เวลาเราเลือกใช้ไมโครโฟนเพื่อรับเสียงคนอย่างเดียวก็พยายามเลือกชนิดที่ให้ผลตอบเชิงความถี่ในช่วงดังกล่าวก็พอแล้ว สำหรับระบบเสียงที่ต้องการทั้งเสียงนักร้องและเสียงดนตรีผลตอบเชิงความถี่อยู่ในช่วง 50 Hz ถึง 12 kHz การเลือกไมโครโฟนหรือเครื่องขยายและอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงอื่น ๆ ก็ควรจะเลือกให้อยู่ในช่วงนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณภาพของเสียงไม่ดีพอ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ สายนำสัญญาณต่าง ๆ ถ้าใช้กับไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูงสายไมโครโฟนควรจะยาวไม่เกิน 20 ฟุต และถ้าจำเป็นต้องใช้สายไมโครโฟนยาวกว่านี้ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ไมโครโฟนแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ ลำโพงที่ใช้ควรมีผลตอบเชิงความถี่ทั้งในแนวตรง (on axis) จากลำโพง และในแนวที่เยื้องออกไปจากลำโพง นั่นคือมีผลตอบเชิงมุม (polar response) ที่ดี แบบของไมโครโฟนควรจะเลือกแบบที่มี่ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เช่น เมื่อใช้กับเสียงคน เสียงดนตรี งานกลางแจ้ง รายละเอียด สำหรับแบบของไมโครโฟนที่ใช้หาได้จากบริษัทผู้ผลิต ที่กล่าวมาเป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงเพื่อให้ได้ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสม (เกี่ยวกับทางด้านวงจร) แต่ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ผลตอบเชิงความถี่ของเสียงไม่ดีพอ ถึงแม้จะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้นหรือในห้งอไม่เหมาะสมทำให้เสียงความถี่สูงหรือต่ำมีระดับความดังที่ผิดปกติไป หรือค่อยกว่าปกติไป การแก้ไขโดยมากจะใช้วงบจรเสริมแต่งเสียงเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ อีควอไลเซอร์ และ ฟิลเตอร์
ความเพี้ยนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้ไม่ดีพอ โดยปกติความเพี้ยนในระบบเสียงมักจะเกิดจากการขลิบยอดสัญญาณเอาต์พุต (output level) เนื่องจากความแรงของสัญญาณเข้ามากเกินไป เช่นไมโครโฟนที่ใช้หลักการของคาปาซิเตอร์ มักจะกำเนิดความเพี้ยนในลักษณะนี้เสมอ เมื่อมีเสียงที่ระดับความดังมาก ๆ เข้าไปความไวตัวของแผ่นไดอะแฟรมจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวไมโครโฟนขลิบยอดสัญญาณที่ออกมา (overdrive) การแก้ไขมักจะต้องเปลี่ยนเป็นไปใช้ไมโครโฟนแบบไดนามิกที่คุณภาพดีเยี่ยม ปรีแอมป์สำหรับไมโครโฟนและมิกเซอร์ซึ่งไม่สามารถปรับอัตรขยายสำหรับสัญญาณเข้าก็ทำให้เกิดการขลิบได้ถ้าสัญญาณที่เข้ามาแรงเกินไป เราอาจจะใช้ชุดลดสัญญาณ (attenuation pad) ตั้งแต่ 5 dB ขึ้นไปเข้ามาต่อพ่วงช่วยลดความแรงของสัญญาณ สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถปรับอัตรขยายได้เราก็พยายามปรับไว้ในระดับที่เหมาะสมที่สุด โดยมากแล้วจะใช้VU มิเตอร์ช่วย
เครื่องขยาย (main amplifier) ของระบบก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเพี้ยนเนื่องจากการขลิบยอดสัญญาณได้เช่นกัน และโดยมากมักจะเกิดขึ้นกับเครื่องขยายที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อเราเร่งกำลังขยายเพิ่มขึ้นจนสุดกำลังซึ่งในช่วงนี้ความเพี้ยนของเสียงจากเครื่องขยายพวกนี้จะมีค่าสูงสุดทำให้เสียงแตกพร่าฟังไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไปจะทำให้กินกำลังของเครื่องขยายมาก นั่นคืออัตราขยายของมันจะมีโอกาสเกินกว่าที่มันจะขับได้ในภาวะปกติ (rated power) ซึ่งจะทำให้เกิดการขลิบยอดสัญญาณได้ทั้งที่ตัวลำโพง เองและที่เครื่องขยายด้วย ลำโพงที่ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงจะมีความไวพอที่จะขับสัญญาณแรง ๆ ได้โดยไม่เกิดความเพี้ยนที่เกิดจากตัวมันเอง ลำโพงโดยทั่วไปที่ใช้หลักการของสนามแม่เหล็กจะมีความเฉื่อยในการขับเสียงออกมาอยู่แล้ว ทำให้เกิดความเพี้ยนโดยเฉพาะในกรณีที่ระดับสัญญาณที่เข้ามามีความแรงมาก ๆ จะทำให้วอยซ์คอยล์ (voice coil) เคลื่อนตัวไปผิดไปจากแกนไปกระแทกหรือบีบตัวกับกรอบข้าง ๆ เกิดเสียงแตกพร่าได้เช่นกัน
เทคนิคการติดตั้งเครื่องเสียง
1. สายแบต เริ่มต้นที่เบอร์ 4 เลือกใช้สายทองแดง OFC ไม่เอาสายที่แกนกลางเป็นอลูมิเนียม แล้วเคลือบด้วยทองแดง CCA ( หลอกตา เหมือนใส่สร้อยชุบทอง )
2. กระบอกฟิวส์ แบบขันน๊อต ( ถ้าเป็นแบบ ANL ยิ่งดี ) มีแอมป์ 1 ตัว จะต้องมีฟิวส์ 2 ตัว
3. สายกลาวด์ ( วัสดุเหมือนสายแบต ) ที่ใหญ่ประมาณเบอร์ 4 และสั้นที่สุด เท่าที่จะทำงานได้ ( เริ่มต้นที่ 2 เส้น )
4. แบต 45-75 แอมป์ ( ชาร์จไฟให้เต็มก่อนลองฟัง )
4.1 ถ้าแบตในรถ เล็กกว่า 45 แอมป์. ผมเลือกเปลี่ยนแบตก่อน เป็นอันดับที่ 1
4.2 ถ้าแบตในรถ เล็กกว่า 45 แอมป์. ผมเลือกเพิ่มแบต ลูกที่ 2 ก่อน เป็นอันดับที่ 1
*** 4.1 และ 4.2 ให้เลือกทำ ข้อใดข้อหนึ่ง
5. แดมป์ประตูเต็มแผ่น ทั้งด้านนอก และด้านใน ( ถ้าต้องการประหยัดให้เน้นด้านหลังลำโพง ข้างละครึ่งแผ่นก็ยังดี )
6. แผงเสริมลำโพง อย่างหนา / เอียงขึ้น / เป็นห้องหรือเป็นเหมือนตู้ ยื่นเข้าไปในประตู ( ลองเอามือปล้องปากแล้วพูดดูครับ เสียงมันจะพุ่งกว่าใช่มั๊ย ) ข้อดีก็คือเสียงมันจะทะลุออกมาจากแผงประตูได้มากขึ้น โดยที่เราไม่ต้องไปเสียเงินซื้อลำโพง รุ่นที่แพงขึ้น ( ร้านที่ขายเก่งๆ เซลล์จะแนะนำสินค้าที่แพงขึ้นเรื่อยๆ)
7. เสา a-pilla / หูช้าง ใช้สำหรับติดตั้งทวิตเตอร์ เพื่อให้ได้องศา ที่เราต้องการ ( ร้านใหญ่ๆจะเชียร์ขายลำโพงกับแอมป์และฟร้อนรุ่นแพงๆ เข้าไว้ ) โดยที่ใส่ทวิตเตอร์ ไว้ในช่องเดิม ...รู้ทั้งรู้ ว่าเสียงไม่ดี
8. เลือกซื้อลำโพง ที่พาสซีพเน็ตเวิอร์ค มีค่าสโลป 12 dB ทั้งของเสียงกลาง และของเสียงแหลม ( ดูจากกล่องภายนอกจะเหมือนกัน แต่ต่างกันที่อุปกรณ์ด้านใน ) ข้อ 8. สำคัญที่สุด ถ้าใช้ลำโพงแยกชิ้น และระบบเป็น ไบแอมป์ ( 2 ย่านความถี่เสียง ไม่ใช่แอมป์ 2 ตัวน่ะครับ
9. ถ้าในระบบมีซับ ต้องเลือกตู้ซับ ให้เหมาะกับดอกซับวูฟเฟอร์ ( อย่าบังคับให้ดอกซับ ไปอยู่ในตู้ที่มันไม่ชอบ ) อ่านสเปค + เข้าโปรแกรมคอม ฯ ดูค่าEBP
* ค่า EBP จะเป็นตัวกำหนดว่า จะตีตู้ เปิด หรือตู้ ปิด
10. เลือกแอมป์ กับลำโพง ให้วัตต์ใกล้เคียงกัน
11. ประกอบเครื่องเสียงเสร็จทั้งคัน ให้เช็คเฟสก่อน เป็นอันดับแรก ก่อนที่จะจูนเสียง
12. เลือกจุดตัดความถี่เสียง ที่ครอสโอเวอร์ ให้เหมาะกับตำแหน่งการติดตั้งลำโพง ( ทั้งพาสซีพ และแอคทีฟ ครอสโอเวอร์ )
13. อย่าลืมทำ LEVEL MATCHING อย่าข้ามขั้นตอนนี้เด็ดขาด
14. หางปลา ก้ามปู ที่ใช้กับสายแบต และสายกลาวด์...จะต้องมีขนาดใหญ่เท่ากับขนาดของสาย ( ไม่ใช่ว่า ใช้สายใหญ่ๆ แต่รูหางปลาเล็กนิดเดียว / พอใส่สายไม่ได้ ก็ต้องไปควั่นสายให้เล็กลง ) ถ้าทำแบบนี้ จะเลือกสายใหญ่ ไปทำไม
15. สายสัญญาณ
16. สายลำโพง
17. CAPA มีความจำเป็นน้อยอีกเช่นกัน ถ้าทุกท่านทำมาครบแล้วทั้ง 16 ข้อ
การติดตั้งและวางระบบเครื่องเสียง
การติดตั้งและวางระบบ : การทำงานในปัจจุบันมักจะใช้เครื่องขยายเสียง ซึ่งการได้ยินเสียงนับได้ว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการจัดวางอุปกรณ์
การติดตั้งเครื่องขยายเสียง : เครื่องขยายเสียงใช้ในงานมักจะเกี่ยวข้องกันในสองลักษณะคือ
1. เครื่องขยายเสียงที่ใช้ฟังตามบ้าน (domestic system) ไม่เหมาะสมกับระบบเสียงใหญ่ ๆ ที่มีบริเวณกว้าง ๆ
2. ระบบเสียงสำหรับการแสดง (sound reinforcement system) ระบบเสียงสำหรับการแสดงที่เราจะกล่าวถึงนี้แยกเป็นส่วนย่อยอีกระบบหนึ่งคือ ระบบกระจายเสียงในที่สาธารณะ (Public Address) ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับชื่อย่อของมันที่ว่า ระบบพีเอ (P.A. system)
ระบบเครื่องขยายเสียง : เป็นระบบเสียงที่เน้นหนักด้านการกระจายเสียงพูด เช่น ในการอภิปรายปาฐกถา การหาเสียง เป็นต้น
ระบบเสียงสำหรับการแสดง : จะมีจุดมุ่งหมายในการกระจายเสียงทั้งเสียงพูดและเสียงพูด เสียงร้องเพลงและเสียงดนตรีควบคู่ไปด้วย ดังนั้นระบบเสียงสำหรับการแสดงจะมีความยุ่งยากและละเอียดอ่อนมากกว่าระบบพีเอ
ะบบเสียงทั้งสองนี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ชมคนดูจะอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้แสดง สภาพเช่นนี้เราถือว่าผู้ชมและผู้แสดงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน เช่น ถ้าอยู่ในห้องประชุมทั้งคนดูและคนแสดงจะอยู่ในสภาพเสียงก้องเสียงสะท้อนแบบเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเสียงรบกวนจากลมและสิ่งอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน แตกต่างจากการเปิดเครื่องรับ (receiver) หรือเป็นสัญญาณที่ถูกบันทึกไว้ โดยในขณะบันทึกนั้นสภาพธรรมชาติของเสียงในห้องบันทึกกับห้องที่เรานั่งฟังนั้นแตกต่างกัน
ระบบพีเอเบื้องต้น : ถึงแม้ว่าจะใช้ไมโครโฟนหลายตัวแต่ใช้เฉพาะเสียงพูดเรายังถือว่าเป็นระบบพีเอเช่นกัน กระจายเสียงไปยังคนดูโดยตรงแต่มันยังคงทำหน้าที่ขยายเสียงจากเครื่องดนตรีเพื่อให้ผู้แสดงเองได้ยินเท่านั้น
ระบบพีเอหลายชิ้น : เป็นระบบเสียงสำหรับการแสดง จะเห็นว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไมโครโฟนซึ่งต้องเลือกใช้กับเครื่องดนตรีเฉพาะแบบ เครื่องดนตรีต่าง ๆ เหล่านี้มีทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้า สัญญาณจากเครื่องดนตรีเหล่านี้จะนำเข้าสู่วงจรมิกเซอร์ อีควอไลเซอร์และอื่นๆ แล้วนำเข้าสู่เครื่องขยายเสียงเพื่อนำออกกระจายเสียงยังคนฟัง เราจะไม่ใช้เครื่องขยายของเครื่องดนตรีชิ้นนั้น (ถ้าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้า) กระจายเสียงไปยังคนดูโดยตรงแต่มันยังคงทำหน้าที่ขยายเสียงจากเครื่องดนตรีเพื่อให้ผู้แสดงเองได้ยินเท่านั้น
ระบบพีเอเบื้องต้น
คุณภาพของเสียง : คุณภาพของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ว่าจะให้ความขัดเจนมากน้อยเพียงใด ความเพี้ยนของอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในระดับที่พอเพียงหรือเปล่า คุณภาพของเสียงขึ้นกับความเป็น Hi-Fi ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ นอกจากนี้ผลตอบเชิงความถี่ยังเป็นตัวกำหนดความชัดเจนด้วย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเพี้ยนต่ำและผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นได้
เครื่องเสียงที่ใช้ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมช่วงความถี่ที่ประสาทหูของคนรับรู้ได้ เพราะเสียงคนไม่เหมือนเสียงดนตรี สำหรับเสียงพูดผลตอบเชิงความถี่ควรจะราบเรียบในช่วง 150 Hz ถึง 7 kHz ก็พอ ดังนั้น เวลาเราเลือกใช้ไมโครโฟนเพื่อรับเสียงคนอย่างเดียวก็พยายามเลือกชนิดที่ให้ผลตอบเชิงความถี่ในช่วงดังกล่าวก็พอแล้ว สำหรับระบบเสียงที่ต้องการทั้งเสียงนักร้องและเสียงดนตรีผลตอบเชิงความถี่อยู่ในช่วง 50 Hz ถึง 12 kHz การเลือกไมโครโฟนหรือสิ่งอื่น ๆ ก็ควรจะเลือกให้อยู่ในช่วงนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณภาพของเสียงไม่ดีพอ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ สายนำสัญญาณต่าง ๆ ถ้าใช้กับไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูงสายไมโครโฟนควรจะยาวไม่เกิน 20 ฟุต และถ้าจำเป็นต้องใช้สายไมโครโฟนยาวกว่านี้ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ไมโครโฟนแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ ลำโพงที่ใช้ควรมีผลตอบเชิงความถี่ทั้งในแนวตรง (on axis) จากลำโพง และในแนวที่เยื้องออกไปจากลำโพง นั่นคือมีผลตอบเชิงมุม (polar response) ที่ดี
คุณภาพของเสียงจากแบบของไมโครโฟน
แบบของไมโครโฟนควรจะเลือกแบบที่มี่ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เช่น เมื่อใช้กับเสียงคน เสียงดนตรี งานกลางแจ้ง รายละเอียด สำหรับแบบของไมโครโฟนที่ใช้หาได้จากบริษัทผู้ผลิต ที่กล่าวมาเป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงเพื่อให้ได้ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสม (เกี่ยวกับทางด้านวงจร)
แต่ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญที่แม้จะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม คือสภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้นหรือในห้องไม่เหมาะสมทำให้เสียงความถี่สูงหรือต่ำมีระดับความดังที่ผิดปกติไป หรือค่อยกว่าปกติไป การแก้ไขโดยมากจะใช้วงบจรเสริมแต่งเสียงเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ อีควอไลเซอร์ และ ฟิลเตอร์
เสียงรบกวนจากพัดลม มอเตอร์ คนดู เสียงจากบริเวณข้างเคียง
เช่น เสียงรถยนต์ เครื่องจักร (ถ้ามี) จะทำให้น้ำเสียงฟังดูคลุมเครือมาก เครื่องขยายที่ใช้ต้องมีระดับความดัง 20-25 dB มากกว่าเสียงรบกวน ดังนั้นในบริเวณที่เสียงรบกวนมีมากเครื่องขยายและลำโพงที่ใช้เป็นแบบที่ราคาค่อนข้างแพงมาก
คุณภาพของเสียงความก้องกำธร
ความก้องกำธรของห้องจะทำให้เสียงที่ได้ฟังดูสับสนไปหมด เพราะว่าเสียงเดิมที่ได้ยินไปแล้วจะดังตามมาอีก มันจะแทรกเข้ามาพร้อมเสียงใหม่ที่เพิ่งพูดไป ทำให้เกิดความสับสนเหมือนคนมีคนแย่งกันพูด การจัดวางตำแหน่งของลำโพงที่มีมุมครอบคลุม (coverage angle) แคบจะช่วยได้มาก โดยวางให้ปากลำโพงหันเข้าหาคนดูมากที่สุด และพยายามหลีกเลี่ยงการหันเข้าหากำแพงหรือเพดาน ซึ่งมักจะเป็นพื้นราบกว้าง ๆ การแก้ไขอีกวิธีที่ได้ผลแต่ราคาและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือการบุกำแพงเพดานด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง
การป้อนกลับทางเสียง (acoustic feedback)
“ไมค์หอน” นับได้ว่าเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด เสียงหอนที่ว่านี้มีทั้งเสียงหวีดหวิวในช่วงความถี่สูง หรือเสียงหึ่ง ๆ ในช่วงความถี่ต่ำ โดยมันจะดังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาและจะมีระดับความดังขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งเพิ่มจนถึงอัตราขยายสูงสุดของเครื่องขยาย นอกจากเราจะปิดเสียงเสียก่อนเท่านั้น เสียงหอนนี้เกิดจากการป้อนกลับทางเสียงระหว่างลำโพงและไมโครโฟน ระดับความดังของเสียงหอนจะขึ้นกับอัตราขยายของลูป (loop – วงจรส่วนนั้น)
ชุดเครื่องเสียงสำหรับห้องสัมนาขนาดย่อม ประกอบด้วย
Power Amp Stereo 120W x 2 รุ่น STA-240P
3D Surround Pre Karaoke รุ่น SK-202
ตู้ลำโพงพ่นสี 10″ 1 คู่ รุ่น JL-10
ขาตั้งตู้ลำโพง 1 คู่
งบประมาณ 12,733 บาท
ระบบเสียงกลางแจ้ง(คอนเสิร์ต)
ระบบเสียง
1. MONO
ระบบเสียง Mono คือระบบเสียงที่มีช่องทางเสียง (channel) เพียงช่องเดียวเท่านั้น สำหรับการฟังระบบเสียง Mono จะใช้ลำโพงเพียงตัวเดียว (หรือจะมีมากกว่า 1 ตัว แต่ทุกตัว จะให้เสียงอันเดียวกันทั้งหมด)
2. STEREO
ระบบเสียง Stereo เป็นระบบเสียงที่ประกอบด้วยช่องทางเสียง 2 ช่อง สำหรับการฟัง จะต้องใช้ลำโพง 2 ตัว แต่ละตัว จะให้เสียงในแต่ละช่องทาง ระบบเสียง Stereo นี้ จุดฟัง ควรจะอยู่กึ่งกลางระหว่างลำโพง 2 ตัว เพื่อให้ได้มิติของเสียง หากอยู่ใกล้ลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป ความดังของลำโพง จะทำให้มิติของเสียงจากลำโพงอีกตัว หายไป สำหรับระบบ Stereo ในโรงหนัง จะประกอบด้วยช่องทางเสียง 3-4 ช่อง โดยมี 2 ช่อง เป็นสัญญาณเสียงซ้ายขวา และมีสัญญาณเสียง effect อยู่ด้านหลัง (surround) และมีสัญญาณเสียงบทพูด (dialogue) อยู่ด้านหน้า เพื่อดึงความสนใจ ให้อยู่บริเวณจอภาพ แต่สำหรับระบบ Stereo บนแผ่นเสียง หรือบนเทป จะมีแค่ 2 ช่องทาง เนื่องจากสื่อสามารถเก็บช่องทางเสียงได้แค่นั้น
3. QUADRAPHONIC STEREO
เป็นระบบเสียงที่ไม่ค่อยรู้จักกันนัก เป็นการ encode เสียง 4 ช่องทาง โดยเสียง 2 ช่องทางที่เพิ่มมาจากระบบ Stereo นั้น เป็นช่องทางเสียงสำหรับลำโพง 2 ตัว ที่จะวางไว้ด้านหลัง อย่างไรก็ตาม ระบบเสียง Quadraphonic นี้ ก็ไม่สามารถหามาตรฐานสำหรับการผลิตได้ ทำให้ไม่มีใครผลิตสื่อในระบบเสียงนี้ออกมา
4. DOLBY STEREO
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1976 โดยพัฒนามาจากระบบ Stereo สำหรับโรงหนัง ทำให้สามารถ "เพิ่ม" ช่องทางเสียงได้อีก 2 ช่อง ร่วมเข้าไปกับช่องเสียง 2 ช่องเดิม (คือเป็นการรวมช่องเสียง Surround และ Dialogue เข้าไปไว้ในระบบ Stereo) ในการฟังระบบเสียงนี้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการถอดรหัสแยกเสียง ให้เป็น 4 ช่องทาง สิ่งที่พัฒนาขึ้นใน Dolby Stereo คือ การรวมสัญญาณเสียง 4 ช่องทาง ให้เหลือ 2 ช่องทาง และการพัฒนาระบบ encode/decode สัญญาณเสียง รวมไปถึง เทคนิคในการลดเสียงรบกวน (Noise Reduction)
5. DOLBY SURROUND
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1982 ในฐานะของระบบเสียง 3 ช่องทาง สำหรับการดูในบ้าน โดย 3 ช่องทางประกอบด้วย หน้าซ้าย (Front Left) หน้าขวา (Front Right) และ Surround แม้ว่าช่องเสียง Surround จะใช้ลำโพง 2 ตัวก็ตาม แต่สัญญาณเสียง Surround จะเป็นระบบ Mono ที่ความถี่ 100Hz-7,000Hz แทรกอยู่ในสัญญาณ FL และ FR การรับฟังระบบเสียง Dolby Surround จำเป็นต้องมีเครื่อง Three Channel Surround Processor โดยระบบเสียงนี้ จะมีเฉพาะในสื่อสำหรับเล่นตามบ้านเท่านั้น เช่น VHS
6. DOLBY SURROUND PRO-LOGIC
ระบบนี้ คือระบบ Dolby Surround ที่เพิ่มเทคนิคที่เรียกว่า Pro-Logic เข้าไป ระบบนี้ ใช้กับเครื่อง Dolby Pro-Logic Decoder ทำให้สามารถแยกสัญญาณ analog 4 ช่องทาง ออกมาจากระบบ Dolby Stereo หรือ Dolby Surround ได้ นอกจากแยกช่องทางเสียงออกมาแล้ว เทคนิค Pro-Logic ยังได้เพิ่มความสามารถในการใส่ช่องเสียง Center และยังสามารถสร้างช่องทางเสียง Surround ให้กับเสียงต้นฉบับที่เป็น Stereo ธรรมดาได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สัญญาณเสียง จากช่อง surround ยังคงเป็นสัญญาณระบบ Mono ที่ความถี่ 100Hz-7,000Hz เท่านั้น
7. DOLBY DIGITAL (AC-3)
ระบบเสียงนี้ เริ่มต้นในปี 1992 เป็นระบบเสียง Digital สำหรับโรงหนัง โดยระบบเสียงนี้ จะประกอบด้วยสัญญาณเสียง digital ทั้งหมด 6 ช่องทางแยกขาดจากกัน มี 5 ช่องทางสำหรับลำโพง 5 ตัว และช่องที่ 6 สำหรับสัญญาณเสียงต่ำ เพื่อใช้กับ Sub-Woofer เราเรียกช่องทางเสียงนี้ว่า 5.1 Channel หรือ AC-3 (Audio Coding 3rd Generation) ข้อดีของระบบเสียงแบบ digital คือ จะใช้เนื้อที่ในการบันทึก น้อยกว่าระบบอื่น ๆ ทำให้สามารถเพิ่มช่องเสียงได้มากขึ้น (เช่น ช่องทาง Surround จากเดิมเป็นแค่ Mono 100Hz-7,000Hz สามารถทำเป็น Hi-Fi Stereo ได้ และมีช่อง LFE Low Frequency Effects ที่ความถี่ 20Hz-120Hz เพิ่มขึ้นมา)
8. DOLBY DIGITAL SURROUND-EX
ระบบเสียง ที่พัฒนามาจาก Dolby Digital 5.1 เป็นการพัฒนาร่วมกัน ระหว่าง Dolby Laboratories และ Lucas film เพิ่มช่องทางเสียง Surround โดยการทำ Matrixed Combination จากสัญญาณ Surround 2 ช่องทางเดิม ที่มีใน Dolby Digital 5.1 (หรือในทางปฏิบัติ ก็คือการนำเอาลำโพง surround-left และ surround-right มาวางตำแหน่งไว้ในด้านข้าง และเพิ่มลำโพง surround-back อีกตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ไว้ทางด้านหลัง) ระบบเสียงนี้ ทำให้การเคลื่อนตัวของเสียง จากด้านหน้า มาด้านข้าง และอ้อมหลังผู้ฟัง มีการต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX นี้ เมื่อเข้ามาเป็นระบบเสียงสำหรับฟังในบ้าน จะใช้ชื่อว่า THX Surround-EX และเนื่องจาก ระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX นี้ ถอดสัญญาณ surround-back ที่ถูกฝังมาในสัญญาณ surround-left surround-right ในระบบเสียง Dolby Digital 5.1 ดังนั้น เครื่อง decoder ที่ไม่มีระบบ EX ก็จะเห็นระบบเสียงนี้ เป็น Dolby Digital 5.1 ธรรมดาเท่านั้น
9. DIGITAL THEATER SYSTEMS (DTS)
ระบบเสียง DTS เริ่มเข้ามามีบทบาท เป็นระบบเสียงสำหรับโรงหนัง ในปี 1995 ประกอบด้วยสัญญาณเสียงแบบ digital 5.1ช่องทาง (เหมือน Dolby Digital) แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ การบีบอัดข้อมูลของสัญญาณ digital โดย Dolby Digital จะบีบอัดสัญญาณเสียงที่สัดส่วนคงที่ คือ 12:1 แต่ DTS จะใช้การบีบอัดแบบไม่คงตัว ในสัดส่วนตั้งแต่ 1:1 ถึง 40:1 ทำให้คงรายละเอียดของเสียง ในส่วนที่มีเสียงมาก ๆ ได้ดีกว่า และไปลดขนาด ในช่วงที่ไม่ค่อยมีเสียงประกอบอะไร ทำให้เสียงที่อกมา มีความสะอาดกว่าในระบบ Dolby Digital อย่างไรก็ตาม ระบบเสียง DTS นี้ ไม่ได้รับความนิยมสำหรับการรับฟังในบ้าน เนื่องจาก ในทางปฏิบัตินั้น ข้อมูล digital ของสัญญาณเสียง DTS จะใช้เนื้อที่มากกว่าของระบบ Dolby Digital ทำให้ไม่สามารถจัดเก็บระบบเสียง analog รวมเข้าไปไว้ได้ (ในกรณีไม่มีเครื่อง DTS Decoder) แต่ปัญหานี้ก็มีเฉพาะใน Laserdisc เท่านั้น ไม่มีผลกับ DVD ระบบเสียง DTS ยังแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ประเภท ได้แก่
- DTS 5.1 Digital Surround - ประกอบด้วยสัญญาณคู่หน้า (FL/FR) คู่หลัง (RL/RR) กลาง (Center) และ Sub
- DTS Stereo 2.0 - คล้าย ๆ กับ Dolby Surround คือเป็นสัญญาณเสียง Stereo ที่มีการผสม (matrixed) สัญญาณสำหรับ Center และ Surround เอาไว้ สามารถนำมาเล่นได้กับอุปกรณ์ Dolby Pro-Logic DTS Mono 1.0 - สัญญาณช่องเดียว เดี่ยว ๆ ไม่มีลุกเล่นอะไร
- DTS-ES ระบบเสียง DTS ที่ใช้เทคโนโลยีจาก Dolby Laboratories และมีพื้นฐานมาจากระบบเสียง Dolby Digital Surround-EX ระบบเสียง DTS-ES นี้ มีการเพิ่มช่องสัญญาณ rear surround (หรือ surround-back) สำหรับลำโพงตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป วางไว้ในตำแหน่งด้านหลัง และลำโพง surround-left surround-right จะย้ายมาอยู่ด้านข้างแทน (เหมือนกับระบบ Dolby Digital Surround-EX เป๊ะ) ช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้นมา จะถูก matrixed เข้ากับช่องสัญญาณ surround-left surround-right ทำให้สามารถ วางตำแหน่งเสียงรอบ ๆ ตัวผู้ฟังได้ถูกต้องขึ้น ในการรับฟังระบบเสียงนี้ จะต้องอาศัยเครื่อง DTS-ES Decoder ซึ่งหากไม่มี ก็ยังสามารถรับฟังได้กับเครื่อง DTS Decoder ซึ่งจะได้เสียง 5.1 ช่องเสียงเท่านั้น (สรุปก็คือ มันก็ลอก Dolby Digital Surround-EX มาทั้งดุ้น เพียงแต่การบีบอัดสัญญาณ ยังเป็นแบบ DTS เท่านั้น)
10. SONY DYNAMIC DIGITAL SOUND (SDDS)
ระบบเสียง SDDS นี้ สามารถรับฟังได้ เฉพาะกับโรงหนังเท่านั้น เนื่องจากระบบเสียงสำหรับฟังตามบ้าน ถูกครองโดย Dolby Digital 5.1 และ DTS ไปหมดแล้ว ระบบเสียง SDDS นี้ ประกอบด้วยสัญญาณเสียง 8 ช่องเสียง (หรือ 7.1) โดยเน้นหนักที่ลำโพงชุดหน้า ในการสร้างมิติเสียง ตามที่ภาพปรากฏบนจอ สำหรับโรงหนังขนาดใหญ่ ประกอบด้วยช่องเสียง หน้า 5 ช่อง (Left, Center-Left, Center, Center-Right, Right) และหลัง 2 ช่อง (Surround-Left, Surround Right) กับอีก 1 ช่องเสียงสำหรับ Sub-Woofer
11. THX SOUND SYSTEM
สำหรับ THX นี้ ไม่ใช่ระบบเสียง (หลาย ๆ คนเข้าใจผิด) ระบบ THX นี้ พัฒนาโดย Lucas film ย่อมาจาก Tomlinson Holman’s experiment ใช้เพื่อเป็นการกำหนดมาตรฐาน สำหรับอุปกรณ์การดูหนัง ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของระบบ THX เนื่องจาก เสียงที่ผู้ฟังรับฟังในโรงหนังต่าง ๆ กัน ที่ใช้อุปกรณ์โสตคนละชนิดกัน ทำให้เสียงที่ได้ออกมาแตกต่างกัน ซึ่งหากได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ ในแต่ละโรง จะทำให้ การรับชม/รับฟังภาพยนตร์ในแต่ละโรง มีความแตกต่างกันน้อยมาก และทำให้ผู้ฟัง ได้รับฟังเสียง ที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมาที่สุด ตราบเท่าที่ อุปกรณ์ต่าง ๆ ยังได้รับการยอมรับตามมาตรฐาน THX THX นี้ ไม่ใช่ระบบเสียง เหมือนอย่าง Dolby Digital หรือ DTS แต่ THX เป็นตัวกลาง ที่อยู่ทั้ง Dolby Digital และ DTS เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ฟัง ได้รับฟังเสียงที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะฟังเสียงในระบบไหน สำหรับอุปกรณ์ที่จะได้รับการยอมรับ ตามมาตรฐาน THX นั้น ต้องผ่านการทดสอบ ตั้งแต่ชนิดของวัสดุที่ใช้ ชนิดของหม้อแปลง สัญญาณเสียงรบกวนภายใน ดังนั้น อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน THX จะถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง
เครื่องเสียง
คำว่า เครื่องเสียง อาจแปลความหมายได้หลากหลายตามขนาดและวิธีการใช้งาน ซึ่งในที่นี้เราจะให้คำจำกัดความของเครื่องเสียงว่าหมายถึงอุปกรณ์เสียง (Audio Equipment)
อุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานโดยหลักการของ การผลิตซ้ำ, บันทึก หรือประมวลผลเสียง ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ ไมโครโฟน (Microphones), เครื่องรับวิทยุ (Radio receivers), เครื่องรับสัญญาณภาพและเสียง (AV Receivers),เครื่องเล่นคอมแพ็คดิสก์หรือซีดี (CD players), เครื่องบันทึกเสียง (Audio recorders), เครื่องผสมสัญญาณ(Mixer), กลุ่มเอ็ฟเฟ็ค (Effects units)หรือ เครื่องประมวลสัญญาณ(Signal processor) ซึ่งรวมถึง อีควอไลเซอร์(Equalizer), เครื่องขยาย(Amplifiers) และ ลำโพง (loudspeakers) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกันด้วย สายสัญญาณ(Signal Cable) ต่างๆ และเสียงที่เราได้ยินจะเป็นไปตาม องค์ประกอบระบบเสียง Audio system components
- หากนำอุปกรณ์ต่างๆ มาต่อให้ทำงานร่วมกันจะกลายเป็น ระบบเสียง (Sound Systems) โดยต้องเข้าใจเรื่อง การเข้าระบบกับความต้านทาน (Impedance Matching)
- หากใช้งานแบบส่วนบุคคล หรือภายในครอบครัว จะหมายถึง เครื่องเสียงบ้าน (Home use)
- หากใช้งานแบบเน้นคุณภาพเสียงหรือรสนิยมในการฟัง เรียกว่า เครื่องเสียง ไฮเอ็นด์ (Hi-end Audio) และการเล่นเครื่องเสียงอย่างจริงจังอาจหมายถึง ออดิโอไฟล์ (Audiophile)
- ระบบที่ใหญ่ขึ้นใช้กับผุ้ฟังจำนวนมากขึ้นเราอาจเรียกว่า เครื่องเสียงPA หรือ ระบบเสียงPA (Public Address Sound Systems or Sound Reinforcement)
- หรือหากเป็นการผลิตสื่อที่เป็นสัญญาณเสียง จะหมายถึง การบันทึกเสียงและผลิตซ้ำ(Sound recording and reproduction)
- เนื่องจากอุปกรณ์เสียงส่วนใหญ่ ทำงานด้วยอุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ และใช้พลังงานไฟฟ้า คนทำงานเกี่ยวกับเครื่องเสียงจึงต้องมีความรุ้ทาง วิศวกรรมเสียง (Audio engineering) พอสมควร
- งานระบบเสียงที่เน้นคุณภาพต้องอาศัยคนทำงานระดับมืออาชีพซึ่งต้องใช้ อุปกรณ์เสียงระดับมืออาชีพ(Professional Audio) มาเป็นเครื่องมือในการปฎิบัติตามขั้นตอน การทำงานระบบเสียง
- ส่วนอุปกรณ์เสียงที่ทดลองสร้างและออกแบบวงจรเองเพื่อการศึกษาหรือใช้งานที่งบประมาณมีจำกัด ในทางสากลคือเครื่องเสียงประเภท คุณทำเอาเอง (D.I.Y.)
- ส่วนในประเทศไทยอาจหมายถึง เครื่องเสียงบ้านหม้อ ซึ่งอาจไม่ได้คิดต้นแบบเองแต่สามารถดัดแปลงอุปกรณ์เพื่อรองรับตลาดนักเล่นและผู้นิยมเครื่องเสียงต่างๆได้ (เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยเท่านั้น)
ลำโพง
ลำโพงขับเสียง หรือลำโพง loudspeaker, speaker ดอกลำโพง Speaker Unit เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียงโดยอาศัยกำลังขยายจากเครื่องขยายเสียงตามความสามารถที่ตัวลำโพงแต่ละดอกสามารถขับได้สูงสุด ซึ่งวัดค่าเป็นกำลังวัตต์ ที่ ความต้านทานของขดลวดในดอกลำโพง
อภิธานศัพท์ Terminology
คำว่า "ลำโพงขับเสียง loudspeaker" อาจหมายถึง ตัวการแปรพลัง transducer เพียงอย่างเดียว (หมายถึง"ดอกลำโพง drivers") หรือหมายถึงระบบลำโพงที่สมบูรณ์อันประกอบด้วย ตู้ใส่ enclosure ที่อาจใส่ได้ดอกเดียว หรือหลายดอก เพื่อความเหมาะสมในการผลิตซ้ำ reproduce ความถี่ที่กว้างครอบคลุมย่านการฟัง
ระบบลำโพงส่วนใหญ่จึงบรรจุตัวลำโพงมากกว่าหนึ่งดอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ ระดับแรงอัดเสียง sound pressure level ที่มากขึ้น หรือ การให้ความถูกต้องสูงสุด maximum accuracy
ลำโพงแต่ละดอก จะใช้ขับเสียงหรือผลิตความถี่ที่ต่างกัน ดอกลำโพงที่ถูกเรียกว่า ซับวูฟเฟอร์ subwoofers ใช้กับย่านความถี่ต่ำมากๆ วูฟเฟอร์ woofers ใช้กับย่านความถี่ต่ำ ลำโพงมิดเรนจ์mid-range speakers ใช้กับย่านความถี่กลาง ทวีตเตอร์ tweeters ใช้กับย่านความสูง และบางทีอาจเสริมด้วย ซุปเปอร์ทวีตเตอร์ supertweeters เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการขับเสียงความถี่ที่คนสามารถได้ยิน audible frequencies.
การเรียกระบบลำโพงที่ใช้ดอกต่างกันจึงแตกต่างตามการใช้งาน ในระบบสองทาง two-way systems จะไม่มีดอกเสียงกลาง mid-range ดังนั้น หน้าที่ในการขับย่านความถี่กลาง จึงตกไปอยู่กับ ดอกเสียงต่ำ woofer และ ดอกเสียงสูง tweeter
เครื่องเสียงบ้าน Home stereos มักใช้การเรียกดอกขับความถี่สูงว่า "ทวีตเตอร์ tweeter" ในขณะที่ระบบเสียงมืออาชีพเรียกพวกมันว่า "เอชเอฟHF" หรือ " ไฮส์ highs".
เมื่อมีการใช้ลำโพงหลายดอกในระบบ จึงต้องมี "เน็ทเวิร์คกรอง filter network" ที่ถูกเรียกว่า crossover , เพื่อใช้แบ่งแยกสัญญาณที่เข้ามา เป็นย่านความถี่ต่างๆ และ เดินสัญญาณที่แบ่งไปยังดอกลำโพงที่เหมาะสม
การเรียกว่าว่าเป็นลำโพงกี่ทางนั้นนับตามการแบ่งความถี่ว่ามีกี่ย่านนั่นเองไม่ใช่นับตามจำนวนดอก เพราะอาจใช้ลำโพงมากกว่าหนึ่งดอกในการขับย่านความถี่เดียวก็ได้
คือการกำเนิดเสียงจากคลื่นไฟฟ้า ด้วยตัวการแปรพลัง transducer ที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง ลำโพงเคลื่อนไหวเพื่อทำให้เกิดการสั่นสะเทือนจากการผันแปร ของสัญญาณไฟฟ้า และกำเนิดคลื่นเสียงที่แพร่ผ่านไปยังตัวกลางเช่นอากาศ หรือ น้ำ หลังจากนั้นจะเกิดผลการได้ยิน Acoustics ตามพื้นที่ในการฟัง listening space
ลำโพง (หรืออุปกรณ์แปรพลัง สัญาณคลื่นไฟฟ้าเป็นเสียงอื่นๆ) เป็นรากฐานส่วนใหญ่ของระบบเสียงอันหลากหลายในปัจจุบัน และมักจะถูกให้รับภาระในการเป็นตัวทำให้เสียงเพี้ยนหรือได้ยินต่างออกไปจากเสียงจริง (ถ้าไม่รู้จะโทษอะไรก็โทษลำโพงเพราะมองเห็นและได้ยินเสียงจากมัน)
ระบบแสงสี
การออกแบบระบบแสงสำหรับการแสดงบนเวที
ในการจัดแสงสำหรับการแสดงบนเวทีนั้นจะไม่มีข้อกำหนดตายตัวในเรื่องของค่าความสว่าง แต่จะมีองค์ประกอบหลักๆ ที่นอกเหนือจากองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบแสงแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นด้านอื่นๆที่มีความสำคัญสำหรับการออกแบบระบบแสงสำหรับการแสดงบนเวทีเช่นกัน
Position องค์ประกอบแรกที่มีความสำคัญมากที่สุด จะประกอบไปด้วย ตำแหน่งต่างๆของนักแสดง และ การเคลื่อนที่ของนักแสดง ซึ่งทั้ง 2 องค์ประกอบนี้ถือว่ามีความสำคัญทีสุด ถ้าไม่ทราบถึงสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่รู้ว่าจะเอาไฟไปส่องอะไร และต้องส่องสว่างเป็นพื้นที่เท่าไร สุดท้ายระบบแสงที่ออกแบบมาก็จะไม่สามารถตอบสนองการแสดงบนเวทีได้ องค์ประกอบนี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
Scene (บรรยากาศที่ใช้ประกอบการแสดง) องค์ประกอบนี้ถือว่ามีความสำคัญอีกเช่นกัน เพราะในการแสดงบนเวทีนอกจากบทบาทและลีลาที่นักแสดงได้ถ่ายทอดอารมณ์ออกมาแล้วนั้น สิ่งที่เสริมความเด่นชัดของการแสดงในแต่ละบทบาทและอารมณ์นั้นก็คือ บรรยากาศของแสงที่ช่วยเสริมให้การแสดงดูสวยงาม และเสมือนจริงได้ โดยจะมีข้อคำนึงถึงประมาณ 4-5 ข้อก็คือสีของแสงที่ใช้ในการแสดง เช่น สีของแสงในบรรยากาศต่างๆ (เช้า สาย บ่าย เย็น) , ลักษณะของแสง เช่นแสงที่ทำให้เกิดเงาของวัตถุที่มากหรือน้อยเพื่อบ่งบอกอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ที่นักแสดงถ่ายทอดออกมา, จุดสนใจของแสง (Selective Focus) แสงที่เน้นความสำคัญและลักษณะเด่นของเหตุการณ์นั้นๆ , อารมณ์ของแสง (Mood) และ การเคลื่อนไหวของแสง ที่สัมพันธ์กับการแสดง
Property (อุปกรณ์ประกอบฉากและการแสดง) องค์ประกอบนี้ถือว่ามีความสำคัญอีกเช่นกัน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมให้เรื่องราวต่างในการแสดงมีความสมบูรณ์มากขึ้น และในองค์ประกอบในส่วนนี้สิ่งที่ผู้ออกแบบแสงต้องคำนึงถึงนั่นก็คือ ขนาดของวัตถุ และ สีของวัตถุ เพื่อที่ผู้ออกแบบแสงจะได้เลือกใช้โคมไฟและสีของแสงให้สอดคล้องกับอุปกณ์ประกอบฉากเหล่านั้นได้
ตัวอย่างในการออกแบบระบบแสงสำหรับการการแสดงบนเวที
กำหนดให้เวทีมีพื้นที่ ขนาดความกว้าง 12 เมตร, ความสูง 6 เมตร และความลึกของเวที 6 เมตร โดยกำหนดให้มีพื้นที่สำหรับการแสดง และการส่องสว่างของแสงอยู่ 2 ส่วน และมีฉากหลังประกอบการแสดงอยู่ด้านหลังเวที
จากรูปเราเราจะเห็นว่ามีพื้นที่สำหรับการแสดงอยู่ 2 ส่วนคือ เวทีด้านหน้า และ เวทีด้านใน ซึ่งแนวคิดในการออกแบบนั้นจะต้องสามารถที่จะตอบสนองกิจกรรมได้หลากหลายประเภทเช่น การประชุมสัมมนา, การแสดงดนตรี, การแสดงละครเวทีเล็กๆหรือการแสดงกิจกรรมอื่นๆบนเวทีที่ใช้พื้นที่ไม่มากนัก โดยที่ ระบบแสงสำหรับการแสดงบนเวทีนี้จะมีโคมไฟชนิดต่างๆในการใช้งานดังนี้
จากรูป จะเห็นได้ว่ามีโคมไฟหลายชนิดที่ใช้ในการส่องสว่างบนเวที ซึ่งโคมไฟแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
โคมไฟสำหรับส่องสว่างบริเวณหน้าเวที F.O.H (Front of House)
เป็นแสงหลัก(Key Light) ในการส่องสว่างให้กับบริเวณด้านหน้าสุดของเวที โดยมีการออกแบบให้ใช้โคมไฟที่สามารถส่องสว่างได้จากระยะไกล เพื่อการตอบสนองกิจกรรมที่เกิดขึ้นบริเวณด้านหน้าเวทีได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
โคมไฟส่องสว่างชนิด Ellipsoidal ขนาด 600วัตต์ จะใช้โคมไฟชนิดนี้ในการส่องสว่างเพื่อต้องการเน้นให้กับวัตถุ เพื่อต้องการให้วัตถุนั้น ๆ มีความเด่นชัดมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การส่องสว่างให้กับโพเดียม หรือวัตถุอื่น ๆ ที่ต้องการความสว่างเฉพาะจุด ซึ่งโคมไฟชนิดนี้จะให้คุณลักษณะของแสงเป็นชนิด Hard Edge และมีองศาของแสงที่แตกต่างกัน เพื่อความเหมาะสมในการเลือกขนาดของลำแสงมาใช้งาน
โคมไฟสำหรับส่องสว่างบนเวที
เป็นแสงหลัก(Key Light) ในการส่องสว่างให้กับบริเวณเวทีด้านหน้าตรงกลาง และด้านในของเวทีเนื่องจากไม่สามารถใช้ชุดโคมไฟที่ส่องมาจากด้านหน้าสุดของเวที (F.O.H) ได้ เพราะแสงสว่างจากไฟด้านหน้าสุดไม่เพียงพอต่อการส่องสว่าง ในการออกแบบนั้นเราต้องกำหนดให้มีโคมไฟหลายๆ ชนิด เพื่อการตอบสนองกิจกรรมที่แตกต่างกันได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
โคมไฟส่องสว่างชนิด Ellipsoidal ขนาด 600 วัตต์ จะใช้โคมไฟชนิดนี้ในการส่องสว่าง เพื่อต้องการเน้นให้กับวัตถุ เพื่อให้วัตถุนั้นๆ มีความเด่นชัดมากขึ้น (Selective Focus) ยกตัวอย่างเช่นการส่องสว่างให้กับโพเดียม หรือวัตถุอื่นๆที่ต้องการความสว่างเฉพาะจุด และจะใช้โคมไฟส่องสว่าง ชนิด Fresnel ขนาด1000 วัตต์ ในการส่องสว่างให้กับวัตถุที่ต้องการควบคุมการกระจายของลำแสงไม่ให้ไปรบกวน วัตถุอื่นๆ เช่น บริเวณที่วัตถุที่ต้องการส่องสว่างนั้นอยู่ใกล้กับจอฉายภาพ หรือฉากหลังของวัตถุ ซึ่งโคมไฟชนิดนี้จะมีคุณลักษณะของแสงที่นุ่ม (Soft Edge) การกระจายของแสงจะสม่ำเสมอ และยังสามารถควบคุมส่วนที่เกินของลำแสงได้โดยใช้ Barn Door เป็นตัวควบคุมได้อีกด้วย
โคมไฟส่องสว่างสำหรับด้านข้างเวที
เป็นแสงเสริม(Fill Light) ให้กับไฟที่ส่องสว่างจากด้านหน้าเวที ในการออกแบบเราจะใช้โคมไฟEllipsoidal ขนาด600 ซึ่งหมายความว่าเมื่อแสงจากไฟที่ส่องมาจากด้านหน้าเวทีตกกระทบกับวัตถุแล้ว จะทำให้เกิดเงาของวัตถุซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแสงเสริมที่ส่องมาจากด้านข้างของวัตถุ เพื่อลบเงาที่ตกกระทบของวัตถุนั้นเพื่อทำให้วัตถุมีความเด่นชัดขึ้นของรูปทรงมากขึ้น
โคมไฟส่องสว่างด้านหลังวัตถุบนเวที
เป็นแสงที่ส่องให้กับด้านหลังของวัตถุ เพื่อช่วยลบเงาที่เกิดจากแสงที่ส่องมาจากด้านหน้า และด้านข้างของวัตถุและยังช่วยเน้นให้วัตถุนั้นๆ มีรูปทรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยแยกตัววัตถุกับฉากหลังให้มีความชัดเจนมากขึ้นเพื่อสร้างมิติของวัตถุได้อีกด้วย โดยการออกแบบได้ใช้โคมไฟชนิด Ellipsoidal ขนาด600วัตต์ และโคมไฟส่องสว่างชนิด Fresnel ขนาด1000วัตต์ ในการส่องสว่างให้กับด้านหลังของวัตถุ
โคมไฟส่องสว่างสำหรับฉาก
เป็นแสงส่องสว่างที่ต้องการส่องสว่างพื้นที่มาก ๆ เพื่อที่จะสร้างบรรยากาศของแสงให้กับฉากหลัง เพื่อตอบสนองกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที โดยการออกแบบได้ใช้โคมไฟชนิด Cyclorama Light ขนาด1000วัตต์ มาใช้เป็นแสงส่องให้กับฉากหลัง ซึ่งโคมไฟชนิดนี้ จะให้คุณลักษณะของการกระจายแสงที่สม่ำเสมอ มีมุมกระจายแสงที่กว้าง จะมีตัว Reflector ที่ใช้ในการสะท้อนแสงที่เป็นชนิด Asymmetrical Reflector โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ส่องสว่างให้กับพื้นที่ที่มีบริเวณกว้าง และต้องการการกระจายของแสงที่สม่ำเสมอ
การทำงานของระบบ
ภาคควบคุม ใช้อุปกรณ์ควบคุมระบบแสงชนิด Se-mi Automatic Control Desk เพื่อรองรับการใช้งานที่ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้งานที่หลากหลายได้ สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงค่าที่บันทึกไว้ในระหว่างการใช้งานได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการสื่อสารทางข้อมูลระหว่าง อุปกรณ์ควบคุมระบบแสง (Se-mi Automatic Control Desk) กับ อุปกรณ์หรี่แสงชนิดดิจิตอล (Digital Dimmer) ที่มีสัญญาณในการควบคุมที่เป็นชนิด Digital DMX-512
ระบบจ่ายพลังงาน,เครื่องปั่นไฟ
ตารางการคำนวณค่าสายไฟ
ตารางอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันดีเซลของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ตารางการเลือกใช้งานขนาดเครื่องปั่นไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในกรณีที่โหลดเป็นมอเตอร์
ยกตัวอย่างเช่นเครื่องปั่นไฟขนาด 125kva ใช้งานที่ความถี่ 50Hz ควรใช้งานกับมอเตอร์ขนาด 42.5kw (เริ่มต้นโดยตรง) ตามตาราง
การประเมินราคาการรับงาน,แต่ละงานที่รับ
ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับ
1. เนื้องานจริงๆ ที่ต้องทำว่ามีอะไรบ้าง
2. ค่าใช้จ่ายด้านสถานที่
3. สิ่งของต่างๆ ที่ต้องใช้ในงานนั้นๆ ว่ามีอะไรบ้าง
4. ต้องมีพิธีกรด้วยหรือไม่
5. ค่าช่างภาพนิ่ง/วิดีโอ
6. จำนวนสต๊าฟที่ต้องใช้ทั้งหมด
ถ้าจะจัดงานแสดงสินค้าตัวหนึ่ง สโึคปงานเริ่มตั้งแต่ออกแบบบูธให้
การเช่าสถานที่ ไม่มี MC สตาฟให้คำแนะนำกับลูกค้าสัก 2 คน
ราคาจะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่คะ บูธคงจะไม่ใหญ่มาก ฟีลประมาณบูธขายคอนโดตามห้าง
1. ขึ้นอยู่กับสถานที่ (เรื่องค่าเช่าที่)
2. ดีไซน์บูธ (ประมาณ 1 หมื่นบาท บวก - ลบ)
3. staff (เริ่มต้นที่ 1,000 บาท (แบบมีประสบการณ์))
http://www.rmuti.ac.th/faculty/production/ie/html/Sound_system.htm
http://www.audiocity2u.com/Knowledge-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87
http://www.avl.co.th/article.php?p=10&id=48
รวบรวมเนื้อหาโดย
นาย อัครวินท์ สะวะลิ